Anantaya Pornwichianwong|7th November 2024
AI Researcher คืออีกหนึ่งตำแหน่งด้านเอไอที่กำลังมาแรงมากในตอนนี้ เนื่องจากแวดวงเอไอพัฒนาไปทุกวัน นวัตกรรมใหม่ ๆ เกิดขึ้นแทบทุกวัน เราเลยต้องการใครสักคนที่จะมาค้นคว้า วิจัย และตามให้ทันเทคโนโลยีเหล่านี้ รวมไปถึงนำโมเดลสุดล้ำทั้งหลายมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ในโลกของธุรกิจ
วันนี้เราพาทุกคนไปพูดคุยกับ Anji Jain นักวิจัยด้านเอไอหรือ AI Researcher คนเก่งของเซอร์ทิส ที่ทำหน้าที่คอยศึกษาและค้นคว้าความเป็นไปได้ใหม่ ๆ ในโลกของเอไอ เพื่อขับเคลื่อนโซลูชันของเซอร์ทิสให้ก้าวล้ำกว่าใครในอุตสาหกรรม ไปดูกันว่างานในตำแหน่ง AI Researcher มีอะไรบ้าง และสิ่งที่ทำให้ Anji อยากเรียนรู้เพื่อเติบโตในตำแหน่งนี้คืออะไร ไปดูกันเลยครับ
1. งานที่ AI Researcher ต้องทำในแต่ละวันมีอะไรบ้าง?
งานประจำวันหลัก ๆ ของ AI Researcher คือการค้นคว้าเกี่ยวกับเทคโนโลยีด้านเอไอใหม่ ๆ ที่สามารถนำมาประยุกต์ให้เข้ากับโปรเจกต์หรืองานวิจัยที่ทำกันอยู่ ซึ่งการทำงานเหล่านี้ก็จะมีตั้งแต่การอ่านงานวิจัยใหม่ ๆ ตามเทรนด์ในโลกเอไอ รวมถึง Brainstorm กับทีมเพื่อดูว่าเราสามารถนำเทคโนโลยีเหล่านั้นไปใช้งานจริงได้อย่างไรบ้าง
นอกจากนี้ในแต่ละวันเราก็จะต้องทำงานร่วมกับทีม ไม่ว่าจะเป็นการประชุมกันแบบ One-on-One การปรึกษาหารือเรื่องการทำงานในแต่ละโปรเจกต์ การประชุมเพื่ออัปเดตเรื่องงานวิจัยที่แต่ละคนทำ รวมไปถึงทำงานร่วมกับทีมซัพพอร์ตที่คอยสนับสนุนการทำงานของเราอีกด้วย
2. ชีวิตการทำงานในแต่ละวันของ AI Researcher เป็นอย่างไรบ้าง?
8:00 AM - 9:30 AM - Morning Routine
เริ่มต้นวันด้วย Morning Routine สั้น ๆ เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการทำงานในวันนั้น ๆ
9:30 AM - 10:00 AM - Planning
จัดลำดับความสำคัญของงาน รีวิวเป้าหมาย และวางแผนการทำงานในแต่ละวัน
10:00 AM -12:00 PM - SUM Meetings and Project/Team Catch-ups
เข้าประชุมประจำวัน เช่น Stand-Up ประชุมโปรเจกต์ และประชุมร่วมกับทีม
1:00 PM -7:00 PM - Research or Project Work
เป็นช่วงของการทำงานวิจัยต่าง ๆ เช่น การทดลองโมเดล สร้างอัลกอริทึม และจัดการงานในแต่ละโปรเจกต์
7:00 PM onwards - Wind Down Routine
ปิดท้ายวันด้วยการทบทวนความคืบหน้าของงานต่าง ๆ และเตรียมพร้อมสำหรับวันถัดไป
3. เครื่องมือที่ใช้ในการทำงานของ AI Researcher มีอะไรบ้าง?
AI Research ใช้เครื่องมือที่หลากหลายในการทำงาน อาทิ
Research & Development Frameworks: PyTorch, TensorFlow, OpenCV และ Scikit-learn
Research Resources & Documentation: เราใช้ ArXiv และ ConnectedPapers ในการค้นคว้าวิจัยต่าง ๆ (Literature Exploration) ใช้ Overleaf ในการจดบันทึกร่วมกับทีม และใช้ Mendeley ในการจัดการเอกสารอ้างอิงต่าง ๆ
Collaboration & Project Management Tools: เราใช้ Confluence ในการแชร์ข้อมูลความรู้ต่าง ๆ กับทีม ใช้ JIRA ในการติดตามการทำงาน ใช้ GitLab ในการจัดการโค้ด และใช้ Miro ในการ Brainstorm ไอเดียและวางแผนขั้นตอนการทำงานร่วมกันให้เห็นภาพมากขึ้น
Cloud Platforms: สำหรับการ Deploy โมเดลและ Storage ต่าง ๆ เราใช้ Google Cloud Platform (GCP) เป็นหลัก
4. ชอบอะไรในความเป็น AI Researcher?
สิ่งที่ชอบที่สุดเกี่ยวกับการเป็น AI Researcher คือการที่มีโอกาสได้ค้นคว้าและสำรวจนวัตกรรมใหม่ ๆ ในแวดวงเอไอ ซึ่งโดยส่วนตัวแล้วเราเองก็มี Passion เกี่ยวกับการค้นคว้าวิจัยด้านเอไอมาตลอด ดังนั้นการที่โอกาสสำรวจความเป็นไปได้ใหม่ ๆ ของเอไอ รวมไปถึงการได้นำเทคโนโลยีเหล่านี้ไปประยุกต์ใช้แก้ปัญหาให้กับธุรกิจในโลกความเป็นจริง และสร้าง Impact ที่แท้จริงให้กับโลกธุรกิจด้วยเอไอ จึงถือเป็นสิ่งที่ทำให้มีความสุขมากในการทำงานเป็น AI Researcher
5. มองว่าตัวเองในอีก 2 ปีข้างหน้าจะเป็นอย่างไร?
ในอีกสองปีข้างหน้าก็หวังว่าตัวเองจะมีส่วนร่วมในการพัฒนานวัตกรรมในแวดวงเอไอ และนำเทคโนโลยีต่าง ๆ มาใช้จริง และสร้างประโยชน์ได้มากขึ้นอีก เราเชื่อมั่นว่าเอไอมีศักยภาพที่จะสร้าง Impact ในหลากหลายแวดวง จึงหวังว่าเราจะมีโอกาสได้สำรวจความเป็นไปได้ใหม่ และได้สร้างโซลูชันที่มี Impact ในวงกว้างได้
Anantaya Pornwichianwong